โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ จิตเวชฉุกเฉิน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนงานการแพทย์ฉุกเฉินนี้ เป็นการดำเนินงารตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเป็นการส่งเสริมการมีบทบาท ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความจำเป็นของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินสนับสนุนและประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่น และดำเนินโครงการอบรมฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สุขภาพจิต ที่มีอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะจิตประสาท อารมณ์ มีความเสี่ยงสูง ต่อการทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่นและทำลายสิ่งของ สิ่งแวดล้อมรอบข้าง ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานดูแลช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความรุนแรงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ได้ กิจกรรมในโครงการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบด้วย 1.บรรยายให้ความรู้เรื่องเจรจาต่อรองผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง และบรรยายให้ความรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรงในระยะฉุกเฉิน
2.การฝึกปฏิบัติแบ่งกลุ่มเรื่องเจรจาต่อรองผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรงในระยะฉุกเฉิน และ 3.สรุปผลการฝึกปฏิบัติการในการช่วยเหลือผู้ป่วยพฤติกรรม
ก้าวร้าวรุนแรงในระยะฉุกเฉิน